เมนู

ฉัฏฐวรรค


ปฏิปทาโทสปัญหา ที่ 1


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นพิภพสาคลราชธานี จึงมีพระราชโองการถามต่อไปว่า ภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนเถระผู้ปรีชาญาณ สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ได้ทรงกระทำทุกร-
กิริยาอันเป็นกรรมที่บุคคลจะพึงทำได้ด้วยยากแล้ว ในที่อื่นพระองค์มิได้ทรงปรารภความเพียร
ปราบปรามกิเลสกำจัดเสนามารเช่นนั้นอีก เพราะพระองค์ทรงกระทำทุกรกิริยานั้นจะได้ความ
ชื่นบานสักหน่อยหนึ่งก็หามิได้ จึงกลับพระทัยเลิกการทรงกระทำทุกรกิริยานั้นเสียแล้ว ยังมี
พระพุทธฎีกาตรัสไว้ว่า เราผู้ตถาคตมิได้บรรลุคุณวิเศษ เป็นอุตริมนุสธรรมที่รู้แจ้งเห็นจริง
ของพระอริยะเพราะทุกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้เลย ต่อเมื่อเราผู้ตถาคตมากลับจิตคิดว่า อาตมา
กระทำทุกรกิริยาอย่างนี้หาได้ธรรมวิเศษไม่ ทางที่จะปฏิบัติเพื่อโพธิญาณพึงมีโดยทางอื่น ดังนี้
แล้วพระองค์ก็ละเสียซึ่งความเพียรในอันกระทำทุกรกิริยา กระทำอย่างอื่นต่อไปจึงได้สำเร็จแก่
พระสร้อยสรรเพชญโพธิญาณ มาภายหลังกลับทรงบัญญัติให้พระภิกษุภิกษุณีปฏิบัติทางปฏิบัติ
ที่พระองค์เหนื่อยหน่ายแล้วด้วยพระคาถานี้ว่า
อารภถ นิกฺขมถ ยุญฺชถ พุทฺธสาสนํ
ธุนาถ มจฺจุโน เสนํ นฬาคารํว กุญฺชโร
ดังนี้
กระแสความในพระคาถานี้ว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งปวงจงปรารภ
ความเพียร จงออกจากหมู่และคณะ อย่าอยู่ในหมู่ในคณะ จงเป็นสัลเลขสันโดษ ไปอยู่ในไพร
สัณฑ์ประเทศ ถืออรัญญิกธุดงค์อยู่ในรุกขมูลต้นใดต้นหนึ่ง ยุญฺชถ จงมาประกอบอุตสาหะเพียร
ภาวนาซึ่งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ในพระบวรพุทธศาสนาของตถาคต ธุนาถ
จงกำจัดเสียซึ่งเสนา มจฺจุโน แห่งพระยามัจจุราช กุญฺขโร อิว ประดุจพระยากุญชรชาติช้างใหญ่
อันเมามัน นฬาคารํ ฉีกเสียพังเสียซึ่งเรือนมีฝาอันบุคคลกระทำด้วยไม้อ้อ อย่าได้ละความ
เพียรในกาลนั้น นี่แหละพระผู้เป็นเจ้าสมเด็จพระบรมครูสัพพัญญูผู้ประเสริฐ เหนื่อยหน่าย9ึ่ง
มหาปธานวิริยะเป็นเพียรอันเคร่งครัด ขณะเมื่อกระทำทุกรกิริยา พระองค์มาติเตียนและวาง
เสียแล้ว ก็ไฉนจึงตรัสบัญญัติให้ภิกษุปฏิบัติกระทำปธานวิริยอุตสาหะที่พระองค์เหนื่อย
หน่ายละวางเสียเล่า
พระนาคเสนเถระผู้ปรีชาเฉลิมปราชญ์จึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
พระราชสมภารพระองค์ผู้ประเสริฐ ไม่เป็นอย่างนั้น ความนี้แฝงกันอยู่ เมื่อสมเด็จพระบรมครู
สัพพัญญูเจ้าได้ตรัสนี้ ก็เป็นทางปฏิบัติอันเดียวกันกับที่บอกพระภิกษุนั้น เมื่อพระองค์กระทำ